กล้วย
ชื่อ
กล้วย
ชื่อพฤษศาสตร์
Musa L. ( กล้วยประเภทรับประทาน )
วงศ์

MUSACEAE

ชื่อพื้นเมือง

อังกฤษเรียก บานาน่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียเรียก ปิซัง ( Pisang ) ฟิลิปปินส์เรียก ซาจิง ( Saging ) พม่าเรียก เง็กเปาตี ( Nget pyo thee ) เขมรเรียก ซิกนัมวา ( Cheek nam'vaa )

แหล่งกำเนิดและการกระจาย

กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฏว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด
แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า ดินแดนแถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย อาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมาก บริโภคกันมากเป็นอันดับแรกของทุกประเทศ
สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง () และกล้วยงาช้าง น่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ส่วนในอินเดียได้รู้จักกล้วยกันมานานกว่าสามพันปีมาแล้ว โดยมีข้อความปรากฏตอนหนึ่งในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่า “ เมื่อนางเกาสุริยาได้ฟังว่า พระรามมิได้มีการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แล้ว พระนางถึงกับล้มราวกับต้นกล้วยถูกฟันด้วยคมมีด ” ปัจจุบันพันธุ์กล้วยที่สำคัญของไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และนครสวรรค์

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ลักษณะ กล้วยเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเทียมสูงประมาณ 2-9 เมตร มีลำต้นสั้นๆ อยู่ใต้ดิน (ที่เรียกว่า “ หัว ” ) พร้อมด้วยตาหลายตาเป็นตำแหน่งที่เกิดเหล้าที่เจริญเป็นหน่อ รากแผ่กระจายไปตามแนวราบ แต่ส่วนมากรากจะอยู่ที่ผิวดิน หน่อมีรูปทรงกระบอก ลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบที่ทับสลับกันจนแน่นกอดกันเป็นก้อนกลม

ใบ ใบ หรือ ใบตองกล้วยมีขนาดใหญ่ ลักษณะใบเป็นแผ่นยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 40.60 ซม. ทรงตัวอยู่ได้ด้วยเส้นกลางใบที่แน่นแข็ง ใบมีการจัดเรียงแบบขนนก มีเส้นใบขนานกัน

ดอก ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมา มีกาบหุ้มมีสีแดงอมม่วง เรียกว่า หัวปลี รูปร่างกลมรี มีดอกย่อยติดกันเป็นแผง ดอกตัวเมียจะอยู่ที่ฐาน ส่วนดอกตัวผู้จะอยู่ช่วงปลาย

ผล หลังจากดอกตัวเมียเริ่มเจริญเป็นผล ดอกตัวผู้ก็จะร่วงไป ช่อดอกจะเจริญต่อไปเป็นเครือกล้วยที่ประกอบด้วยหวีกล้วยประมาณ 7-8 หวี ผลกล้วยอ่อนมีสีเขียวพอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ทุกส่วนของกล้วยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะผลสามารถใช้ประโยชน์ทางอาหารได้สูงสุด รับประทานได้ทั้งผลดิบและสุก กล้วยสุกนำไปเผาทั้งเปลือก ขูดเอาแต่เนื้อไปบดกับข้าว เป็นอาหารชนิดแรกของคนไทยนอกจากนมแม่ กล้วยดิบสามารถนำไปแปรรูปเป็น แป้งกล้วย ไว้ผสมกับอาหารอื่นๆ หรือไปทำเป็นกล้วยฉาบ กล้วยกวน กล้วยตาก ข้าวเกรียบกล้วย ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน นอกจากผลแล้ว ปลีกล้วย ใช้เป็นผักเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของแกงเลียง อาหารเพิ่มน้ำนมให้แก่แม่ที่เพิ่งคลอดบุตร กาบใน (ไส้) ใช้ทำอาหาร เช่น แกง

สรรพคุณทางยา

ยาง สมานแผลห้ามเลือด

ผลดิบ รสฝาด ทั้งเปลือก หั้นตากแดด บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือ ปั้นเมล็ดรับประทาน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสียเรื้อรัง ผลกล้วยดิบทั้งเปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ

ผลสุก รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

เปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตก

หัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน

น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต

ใบ รสเย็นจืด ต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน

หยวก รสฝาดเย็น เผาไฟรับประทาน ขับพยาธิ

เหง้า รสฝาดเย็น ปรุงยาแก้ริดสีดวงทวาร ชนิดมีเลือดออก หรือแผลภายในช่องทวาร
คุณค่าทางอาหารและโภชนาการ
ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กล้วย ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้
คุณค่าทางโภชนาการ
Cal
Unit

Moisture%

Protein 
Gm

Fat Gm

CHO 
Gm
Fibre 
Gm
Ash Gm.
Ca 
mg.
P mg.
Fe
mg.
Vitamins

A I.U

B1
mg.
B2 
mg
Niacin mg.

mg.
หัวปลี
25
92.3
1.4
0.2
4.4
0.8
0.9
28
40
0.7
260
0.01
0.02
0.62
25
หยวกกล้วยน้ำว้า
6
97.6
0.4
0.1
0.9
0.6
-
0.5
22
47
-
tr
tr
0.4
tr
กล้วยไข่
140
62.8
1.5
0.2
32.9
0.4
0.7
4
23
1.0
-
0.03
0.05
1.4
2
กล้วยน้ำว้า
139
62.6
1.1
0.2
33.1
0.3
0.7
7
43
0.8
-
0.04
0.02
1.4
11
กล้วยหอม
125
66.3
0.9
0.2
29.8
0.3
0.9
26
43
0.8
-
0.04
0.07
1.0
27


Free Web Hosting